สไบเรียบ Vs สไบจีบ

10603435_906373869376764_6286940136566483069_n

10523532_906373862710098_5007118104673305362_n

สไบเรียบ Vs สไบจีบ

การแต่งกายของสตรีไทยแต่โบราณนั้น สไบถือว่าเป็นเครื่องแต่งกายหลักเมื่อจำเป็นที่จะต้องออกจากบ้าน แต่ถึงกระนั้นยังมีรายละเอียดเล็กๆน้อยๆที่เป็นข้อแตกต่างระหว่างการแต่งกายของสามัญชนและชาววัง ขุนนาง ชนชั้นสูง นั้นก็คือรอยจีบบนผืนผ้าสไบนั้นเอง ดังที่ท่านอาจารย์เผ่าทอง ทองเจือ ผู้เชี่ยวชาญด้านผ้าไทย กล่าวบรรยายขณะที่วิทยากรสาธิตวิธีการอัดผ้า ในงานนิทรรศการ ‘ขัด รีด ร่ำ การดูแลผ้าแบบชาววัง

“การแสดงฐานะของคนไทยในสมัยก่อนจะดูจากรอยพับของผ้า หรือจีบของผ้า ถ้าผ้าที่ใครใส่มีรอยพับหรือสไบที่ใส่มีรอยจีบที่สวยงามแสดงว่าบ้านนั้นมีฐานะดี เพราะการจับจีบผ้าต้องใช้เวลานานและใช้กำลังคนทำมาก ผู้ดีไทยโบราณจึงต้องมีคนรับใช้เอาไว้เพื่อทำเรื่องเหล่านี้ให้”

ขั้นตอนการดูแลผ้าตามแบบฉบับของสาวชาววังนั้นมีทั้งหมด 3 ขั้นตอน ” ขัด รีด ร่ำ ”

ขั้นตอนแรกสำหรับการดูแลผ้าไทยแบบชาววัง “การขัด” คือ การซัก คนไทยโบราณจะนำผ้าไปต้มในน้ำชะลูดเพื่อให้มีกลิ่นหอมและใส่ลูกซัดที่มีคุณสมบัติเป็นเมือก เมื่อแช่น้ำเข้าไปเพื่อเคลือบเส้นใยของผ้าเอาไว้จะทำให้ผ้านั้นคงรูปทรง เมื่อนำไปขัดจะขึ้นเงา สำหรับผ้าที่หนาและมีการสอดด้ายทองเข้าไปในเนื้อผ้าจะไม่นิยมขัด จึงไม่แช่ในน้ำลูกซัดแต่จะแช่ในน้ำมะพร้าวแทนเพื่อให้เนื้อผ้านุ่ม ก่อนนำไปล้างน้ำให้สะอาด เมื่อซักผ้าเสร็จแล้วจะเข้าสู่ขั้นตอนการขัด ซึ่งจะใช้หอยเบี้ยโดยนำด้านกลมมนของหอยมาขัดไปตามแนวของเนื้อผ้า เพื่อให้เนื้อผ้าเงางาม ถือเป็นภูมิปัญญาของไทยโบราณโดยแท้จริง บางครั้งอาจใช้หอยโมรา กระสุนปืนโบราณ หรือขวดแก้ว เพราะยิ่งอุปกรณ์การขัดมีขนาดใหญ่มากเท่าไรงานขัดผ้าก็ยิ่งเสร็จเร็วมากขึ้นเท่านั้น

ขั้นตอนที่สอง “การรีด” ก็คือการอัดผ้าจีบในสมัยโบราณนั้น ถ้าเป็นสไบจะใช้รางจีบผ้าที่มีลิ้นเป็นชั้นๆ อยู่ในราง ผู้จีบจะต้องพันผ้าไว้กับไม้ไผ่หลายชั้นมัดหัวท้ายใส่ลงในราง แล้วใช้ไม้ทับลงไปให้ผ้าอยู่ทรง ต้องใช้ความชำนาญในการที่จะทำให้จีบแต่ละจีบออกมาเท่ากันและต้องใช้เวลานานจนเสร็จสิ้นขึ้นตอน

ขั้นตอนที่สาม “การร่ำ” สาวชาววังมีวิธีทำให้ผ้า ‘หอมติดกระดาน’ โดยการนำผ้าไปร่ำในดอกไม้หอมชนิดต่างๆ อาทิ กฤษณา จันทน์เทศ สารภี ประยงค์ จันทน์กะพ้อ กระดังงา มะลิลา
การร่ำ คือการอบหรือปรุงผ้าให้มีกลิ่นหอม โดยนำผ้าใส่โถหรือหีบทึบปิดสนิทแล้วร่ำ ซึ่งทำได้หลายวิธี ทั้งร่ำควันเทียน ร่ำดอกไม้สด และร่ำด้วยน้ำปรุง จนกลิ่นติดเนื้อผ้าแล้วจึงนำไปรีดหรืออัดจีบให้สวยงาม

สาระความรู้ธรรมเนียมโบราณเหล่านี้ http://www.Phahurat.com นำมาบอกต่อด้วยอยากให้คนไทยทราบถึงความมีวัฒนธรรมที่ดีงาม การใส่ศิลป์ใส่ความคิดสร้างสรรผนวกเข้ากับทุกๆอย่างในการดำเนินชีวิต เป็นสิ่งที่สั่งสมมาแต่อดีตของชนชาติไทย ซึ่งมีเพียงไม่กี่ประเทศในโลกที่มีสิ่งล้ำค่าทางวัฒนธรรมเช่นนี้ครับ

โพสท์ใน ไม่มีหมวดหมู่ | ใส่ความเห็น

นามสกุลแรกของกรุงสยาม

1OAE_OA

ตั้งแต่โบราณมาจนถึงสมัยรัชกาลที่ ๕ คนไทยเราไม่มีนามสกุลใช้ มีแต่ชื่อโดดๆ ทั้งชื่อก็ยังซ้ำกันมาก อย่าง อิน จัน มั่น คง แดง ดำ ขาว เขียว เลยไม่รู้ว่าแดงไหน ดำไหน ด้วยเหตุนี้ ในรัชกาลที่ ๖ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ ประกาศพระราชบัญญัตินามสกุลขึ้นในวันที่ ๒๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๕๕ บังคับใช้เป็นกฎหมายตั้งแต่วันที่ ๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๕๖ เป็นต้นไป ให้คนไทยต้องมีนามสกุล เพื่อสะดวกแก่การจดทะเบียน คนเกิด คนตาย และทำการสมรส ทรงชี้แจงถึงคุณประโยชน์ของการมีนามสกุลไว้ใน “จดหมายเหตุรายวัน” ว่า

“…การมีชื่อตระกูลเปนความสะดวกมาก อย่างต่ำๆ ที่ใครๆ ก็ย่อมจะมองเห็นได้ คือชื่อคนในทะเบียนสำมโนครัวจะได้ไม่ปนกัน แต่อันที่จริงจะมีผลสำคัญกว่านั้น คือ จะทำให้เรารู้จัก รำฤกถึงบรรพบุรุษของตนผู้ได้อุสาหก่อสร้างตัวมา และได้ตั้งตระกูลไว้ให้มีชื่อในแผ่นดิน เราผู้เปนเผ่าพันธุ์ของท่านได้รับมรฎกมาแล้ว จำต้องประพฤติตนให้สมกับที่ท่านได้ทำดีมาไว้ และการที่จะตั้งใจเช่นนี้ ถ้ามีชื่อที่ต้องรักษา มิให้เสื่อมทรามไปแล้วย่อมจะทำให้เปนเครื่องยึดเหนี่ยวหน่วงใจคนมิให้ตามใจตนไปฝ่ายเดียว จะถือว่า “ตัวใครก็ตัวใคร” ไม่ได้อีกต่อไป จะต้องรักษาทั้งชื่อของตัวเองทั้งชื่อของตระกูลด้วยอีกส่วน ๑ …”

ตอนให้ตั้งนามสกุลก็เป็นเรื่องโกลาหลไม่น้อย เพราะชาวบ้านส่วนใหญ่ไม่เข้าใจว่าจะตั้งอย่างไร นายอำเภอและเจ้าเมืองจึงเป็นที่พึ่ง วันๆ ไม่ต้องทำอะไร ได้แต่ตั้งนามสกุล ให้คนที่ไปหากันแน่น พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ ก็พระราชทานนามสกุลแก่ข้าราชการ พ่อค้า ประชาชน ดังที่ทรงบันทึกไว้ใน “ทะเบียนนามสกุล” มีถึง ๖,๔๓๒ นามสกุล

นามสกุลหมายเลข ๑ ที่พระราชทาน คือ นามสกุล “สุขุม” พระราชทาน เมื่อ วันที่ ๓๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๕๖ ต้นสกุล คือ เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม)

โพสท์ใน ไม่มีหมวดหมู่ | ใส่ความเห็น

สีตามวันสไตล์สาวชาววัง

เสื้อผ้า สี-02

การแต่งชุดไทยสลับสีชิ้นบนและล่างนั้นเป็นธรรมเนียมปฏิบัติมาแต่โบราณของสาวไทยชาววังค่ะ
ในอดีตสตรีที่อาศัยอยู่ในเขตพระราชฐานชั้นในจะแต่งกายเหมือนกันหมดตามแต่พระราชนิยม โดยนุ่งห่มสีตามวันนับตั้งแต่วันจันทร์ – วันอาทิตย์ แต่ละวันจะมีสีกำหนดไว้โดยเฉพาะดังนี้

(วันจันทร์) : นุ่งสีเหลืองอ่อน ห่มสีน้ำเงินอ่อนหรือบานเย็น แต่ถ้านุ่งสีนำเงินนกพิราบ ต้องห่มสีจำปาแดง

(วันอังคาร) : นุ่งสีปูนหรือสีม่วงเม็ดมะปราง จะห่มสีโศก แต่ถ้านุ่งสีโศกหรือสีเขียวอ่อน ต้องห่มด้วยม่วงอ่อน

(วันพุธ) : นุ่งสีถั่วก็ได้ สีเหล็กก็ได้ ห่มสีจำปา

(วันพฤหัสบดี) : นุ่งสีเขียวใบไม้ ห่มสีแดงเลือดนก หรือนุ่งสีแสด ห่มสีเขียวอ่อน

(วันศุกร์) : นุ่งสีน้ำเงินแก่ ห่มสีเหลือง

(วันเสาร์) : นุ่งสีเม็ดมะปราง ห่มสีโศก หรืองนุ่งผ้าลายพื้นสีม่วงห่มสีโศก

(วันอาทิตย์) : แต่งเหมือนวันพฤหัสบดีก็ได้ หรือนุ่งผ้าลายสีลิ้นจี่หรือสีเลือดหมู ห่มสีโศก

ส่วนเวลาไว้ทุกข์จะนุ่งผ้าลายพื้นสีม่วงแต่ห่มสีนวล

ปัจจุบันได้รับอิทธิพลจากการแต่งกายแบบตะวันตกมากขึ้น จนทำให้การแต่งกายสีตามวันแบบฉบับของสาวชาววัง และการใส่ชุดไทยสลับสีชิ้นบนและชิ้นล่างเริ่มเลือนหายไป น้อยคนที่จะยังรู้จักธรรมเนียมนี้

โพสท์ใน ไม่มีหมวดหมู่ | ใส่ความเห็น

วังสระปทุม พระราชวังสำคัญในครอบครัวของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช

10527433_890249654322519_5778378624217331243_n

เป็นที่ประทับของพระบรมวงศานุวงศ์หลายพระองค์ ส่งต่อสู่ทายาท รุ่น ต่อ รุ่น ตั้งแต่ สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า , สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมหลวงสงขลานครินทร์ และปัจจุบันส่งต่อเป็นที่ประทับของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีจนถึงปัจจุบัน มีพิธีสำคัญเกิดขึ้นที่วังแห่งนี้หลายเหตุการด้วยกันตัวอย่างเช่น

– พิธีอภิเษกสมรสของสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมขุนสงขลานครินทร์
– พระราชพิธีราชาภิเษกสมรสในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช

ดังนั้นสถานที่แห่งนี้จึงเป็นสถานีที่สำคัญอย่างมากทางประวัติศาสตร์ของประเทศไทย ขอนำภาพสองภาพนี้มาให้ชมกันซึ่งทั้งสองเหตุการณ์ ต่างเกิดขึ้นที่พระราชวังแห่งนี้ค่ะ

ภาพแรก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล , สมเด็จพระศรีสวรินทร์ทิรา บรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า , สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยานิวัฒนา (พระอิริยยศในขณะนั้น) , สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช (พระอิสริยยศในขณะนั้น) , สมเด็จพระราชชนนีศรีสังวาลย์ (พระอิสริยยศในขณะนั้น)

ภาพที่สอง พระราชพิธีราชาภิเษกสมรสระหว่างสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช (พระยศขณะนั้น) และหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร (พระยศขณะนั้น) จัดขึ้นในวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2493 ณ พระตำหนักใหญ่ วังสระปทุม โดยสมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าทรงเป็นองค์ประธาน

โพสท์ใน ไม่มีหมวดหมู่ | ใส่ความเห็น

ประวัติการร้อยดอกไม้ของไทย

10150657_887728767907941_7093560380591342255_n

เริ่มต้นมาตั้งแต่สมัยใด ใครเป็นผู้ริเริ่มนั้นไม่มีหลักฐานปรากฏ เนื่องมาจากไม่มีการจดบันทึก เป็นลายลักษณ์อักษรนั่นเอง จึงไม่มีหลักฐานใดๆให้อนุชนรุ่นหลังได้สืบค้น

ต่อมาในรัชสมัยสุโขทัยเป็นราชธานี ได้มีสนมเอกของพระร่วงเจ้าคือท้าวศรีจุฬาลักษณ์หรือนางนพมาศ ซึ่งเป็นผู้มีฝีมือในด้านการประดิษฐ์ดอกไม้สดเป็นเลิศ ตามหลักฐานที่อ้างถึงในพระราชนิพนธ์เรื่องพระราชพิธี12เดือนทำให้มีหลักฐานบันทึกว่าในสมัยของสมเด็จ
พระร่วงเจ้าแห่งกรุงสุโขทัยศิลปะในการจัดตกแต่งดอกไม้นั้นเจริญอยู่

แล้วการร้อยมาลัยนั้น ได้เริ่มวิวัฒนาการมาตั้งแต่สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถพระพันปีหลวง ได้ทรงดัดแปลงการทำดอกไม้แบบเก่าให้แปลกพิสดารโดย ทรงคิดร้อยมาลัยด้วยดอกไม้ต่างๆและใช้ใบไม้แทรก ทำให้มีลวดลายและสีต่างๆกันอย่างงดงามจึงมีพระนามเลื่องลือใน การร้อยพวงมาลัยเป็นอย่างยิ่ง

ต่อมาในงานพระศพของสมเด็จพระปิยะมาวดีศรีพัชรินทรามาตา ซึ่งเป็นพระมารดาของ สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ สมเด็จพระพันปีหลวงให้คุณท้าววรคณานันท์ ( ม.ร.ว.ปั้ม มาลากุล)
ได้จัดทำมาลัยประดับพระศพ มาลัยที่นำมาตกแต่งจะเปลี่ยนสีรูปแบบต่างๆจึงนับได้ว่าตั้งแต่บัดนั้นการร้อยมาลัย ได้มีการวิวัฒนาการก้าวหน้าเรื่อยมาผู้ที่สืบทอดเรื่องการร้อยมาลัยมาจนถึงปัจจุบัน คือ ม.ล.ป้องมาลากุล ได้คิดดัดแปลงแบบแผนรูปร่าง ลวดลายต่างๆของมาลัยไว้มาก

โพสท์ใน ไม่มีหมวดหมู่ | ใส่ความเห็น

10522772_887710807909737_1119375087262886936_n

ดอกมะลิ สัญลักษณ์ “วันแม่”
ดอกไม้ดอกเล็ก ๆ สีขาวบริสุทธิ์ที่มีกลิ่นหอมชวนดมอย่าง “ดอกมะลิ” ถูกนำมาใช้เป็นดอกไม้สัญลักษณ์ “วันแม่” เพราะดอกมะลิเปรียบเสมือนความรักอันบริสุทธิ์ของแม่ที่มีให้ลูกน้อยไม่มีวันเสื่อมคลาย เหมือนกับความหอมของดอกมะลิที่หอมนาน และออกดอกตลอดทั้งปี นอกจากนี้ คนไทยยังนิยมนำดอกมะลิมาร้อยมาลัยบูชาพระ ดังนั้น ดอกมะลิ จึงเปรียบเสมือนการบูชาแม่ผู้มีพระคุณของลูก ๆ ทุกคน

โพสท์ใน ไม่มีหมวดหมู่ | ใส่ความเห็น

การขอพระราชทานเพลิงศพ

10373953_886088634738621_6861243193447679166_n

แอดมินนำข้อมูลดีๆ เกี่่ยวกับ**การขอพระราชทานเพลิงศพ** ซึ่งน้อยคนนักที่จะรู้ถึงหลักเกณฑ์และขั้นตอนต่างๆ มาเรียนรู้กันค่ะว่า ขั้นตอนการขอพระราชทานเพลิงศพเป็นอย่างไรบ้าง
(ขอบคุณภาพรีวิวจากลูกค้าของทางร้านค่ะ)

หลักเกณฑ์ในการขอพระราชทานเพลิงศพ
ผู้มีสิทธิ์ได้รับพระราชทานเพลิงศพ ต้องมีตำแหน่งชั้นและยศ ดังต่อไปนี้
1. พระสมณศักดิ์ ตั้งแต่ชั้น “พระครูสัญญาบัตร” ขึ้นไป
2. พระราชวงศ์ ตั้งแต่ชั้น “หม่อมเจ้า” ขึ้นไป
3. ผู้ที่ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์
4. ข้าราชการพลเรือนสามัญตั้งแต่ระดับ 3 ขั้นไป
5. ข้าราชการฝ่ายทหาร ตำรวจ ยศชั้นร้อยตรี ขึ้นไป
6. พนักงานเทศบาลตั้งแต่ระดับ 3 ขึ้นไป
7. ผู้ที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ตั้งแต่ “เบญจมดิเรกคุณาภรณ์”(บ.ภ.)และ “เบญจมาภรณ์มงกุฏไทย” (บ.ม.) ขึ้นไป
8. ผู้มีเกียรติที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ “จุลจอมเกล้า” (จ.จ.) หรือ “ตราสืบตระกูล” (ต.จ.) ขึ้นไป
9. ผู้ที่ได้รับพระราชทานเหรียญ “รัตนาภรณ์” รัชกาลปัจจุบัน
10. สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกสภาร่างรับฐธรรมนูญ สมาชิกสภาจังหวัด สมาชิกสภาเทศบาล ที่ถึงแก่กรรม
11. รัฐมนตรีที่ถึงแก่อนิจกรรม
12. ผู้ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ เป็นกรณีพิเศษ
**หมายเหตุ บุคคลผู้ทำลายชีพตนเอง ไม่พระราชทานเพลิงศพ และเครื่องประกอบเกียรติยศ
————————————————————————-
หลักเกณฑ์ในการขอพระราชทานเพลิงศพ**(แบบกรณีพิเศษ)**
ผู้ที่สมควรได้รับการพิจารณาในการขอพระราชทานเพลิงศพกรณีพิเศษ ควรอยู่ในหลักเกณฑ์ ดังนี้
1. ผู้ที่อยู่ในราชสกุล ชั้นหม่อมราชวงศ์และหม่อมหลวง
2. พระสงฆ์ที่พระราชาคณะพิจารณาขอพระราชทานให้
3. พนักงานรัฐวิสาหกิจระดับสูง
4. ผู้ที่ได้รับพระราชทานเหรียญราชรุจิ เหรียญกล้าหาญ และเหรียญชัยสมรภูมิ
5. ผู้ที่ทำคุณประโยชน์ให้กับประเทศชาติ เช่นศิลปินแห่งชาติ นักกีฬาระดับชาติ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร อดีตสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ อดีตสมาชิกสภาจังหวัด หรืออดีตสมาชิกสภาเทศบาล
6. ผู้ที่ทำประโยชน์ เช่น บริจาคเพื่อการกุศล คิดเป็นมูลค่าไม่น้อยกว่า 300,000.-บาท บริจาคร่างกายหรืออวัยวะ
7. บิดา มารดา ของข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ระดับ 6 ขึ้นไป
8. บิดา มารดา ของผู้ที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ “ตริตราภรณ์ช้างเผือก” (ต.ช.) ขึ้นไป
9. บิดา มารดา ของพระสมรศักดิ์ ตั้งแต่ชั้น “พระครูสัญญาบัตร” ขึ้นไป
10. บิดา มารดา ของข้าราชการทหาร ตำรวจ ตั้งแต่ระดับพันโท นาวาโท นาวาอากาศโท และพันตำรวจโท ขึ้นไป
**หมายเหตุ บุคคลผู้ทำลายชีพตนเอง ไม่พระราชทานเพลิงศพ และเครื่องประกอบเกียรติยศ
—————————————————————————–
ขั้นตอนในการขอพระราชทานเพลิงศพ
การขอพระราชทานเพลิงศพ : เจ้าภาพหรือทายาท ผู้ประสงค์ขอพระราชทานเพลิงศพ จะต้องทำหนังสือแจ้งไปยังกระทรวงเจ้าสังกัดของผู้ถึงแก่กรรม โดยระบุ
– ชื่อ ตำแหน่ง ชั้น ยศ ของผู้ที่ถึงแก่กรรม
– ถึงแก่กรรมด้วยโรคอะไร ที่ไหน เมื่อใด
– ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อะไรบ้าง
– มีความประสงค์จะขอรับพระราชทานเครื่องเกียรติยศประกอบศพอย่างไรบ้าง
– ระบุวัน เวลา สถานที่ ที่จะฌาปนกิจ
1. การขอพระราชทานเพลิงศพ : เจ้าภาพหรือทายาท ผู้ประสงค์ขอพระราชทานเพลิงศพ จะต้องทำหนังสือแจ้งไปยังกระทรวงเจ้าสังกัดของผู้ถึงแก่กรรม โดยระบุ
– ชื่อ ตำแหน่ง ชั้น ยศ ของผู้ที่ถึงแก่กรรม
– ถึงแก่กรรมด้วยโรคอะไร ที่ไหน เมื่อใด
– ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อะไรบ้าง
– มีความประสงค์จะขอรับพระราชทานเครื่องเกียรติยศประกอบศพอย่างไรบ้าง
– ระบุวัน เวลา สถานที่ ที่จะฌาปนกิจ
2. การขอพระราชทานเพลิงศพเป็นกรณีพิเศษ : เจ้าภาพหรือทายาท ผู้ประสงค์ขอพระราชทานเพลิงศพเป็นกรณีพิเศษ ต้องทำหนังสือถึง เลขาธิการพระราชวัง โดยระบุ …….
– ชื่อ-สกุล ปละประวัติโดยย่อของผู้ถึงแก่กรรม
– ถึงแก่กรรมด้วยโรคอะไร ที่ไหน เมื่อใด
– ระบุคุณงามความดีที่เป็นประโยชน์แก่ประเทศชาติ หรือคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์การพิจารณา
การขอพระราชทานเพลิงศพเป็นกรณีพิเศษ- ระบุ วัน เวลา สถานที่ ที่จะฌาปนกิจ
หลักฐานที่ต้องนำมาแสดงในการขอพระราชทานเพลิงศพเป็นกรณีพิเศษนั้น จะต้องนำหลักฐานมาแสดงแก่เจ้าหน้าที่ ดังนี้
– ใบมรณบัตรของผู้ถึงแก่กรรม
– ทะเบียนบ้านของทายาทของผู้ถึงแก่กรรม
– บัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรข้าราชการของทายาทของผู้ถึงแก่กรรม
– หนังสือรับรองจากหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ ใบอนุโมทนาบัตร ใบประกาศเหรียญกล้าหาญ หรือเหรียญชัยสมรภูมิ
ทั้งนี้ ต้องนำเอกสารต้นฉบับและสำเนาแนบมาพร้อมกับหนังสือด้วย
3. ติดต่อวัดเพื่อเตรียมการพระราชทานเพลิงศพ : ในการขอพระราชทานเพลิงศพทั้งตามเกณฑ์ที่ได้รับพระราชทานและกรณีพิเศษนั้น จะต้องไม่ตรงกับวันเฉลิมพระชนมพรรษาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และวันเฉลิม
ฉลองสิริราชสมบัติ พระราชพิธีฉัตรมงคล (และตามประเพณีนิยมไม่มีการเผาศพในวันศุกร์)
________________________________________
ข้อกำหนดของกองพระราชพิธี
1. ผู้มีสิทธิได้รับพระราชทานเพลิง ถ้าจะพระราชทานในต่างจังหวัด (นอกเขตรัศมี 50 กิโลเมตร จากพระบรมมหาราชวัง) ยกเว้นปริมณลใกล้กรุงเทพ ฯ ทางสำนักพระราชวังจะได้จัดหีบเพลิงให้กระทรวงเจ้าสังกัดรับไปพระราชทานเพลิง หรือให้เจ้าภาพศพไปติดต่อขอรับหีบเพลิงพระราชทาน ที่กองพระราชพิธี สำนักพระราชวัง

2. กรณีพระราชทานเพลิงศพ ทั้งตามหลักเกณฑ์ที่ได้รับพระราชทานและกรณีพิเศษ ที่ไม่มีเครื่องเกียรติยศประกอบศพในกรุงเทพ ฯ ทางสำนัก พระราชวัง จะได้จัดเจ้าพนักงานเชิญเพลิงหลวง ไปพระราชทานโดยรถยนต์หลวง ทั้งนี้ เจ้าภาพไม่ต้องเสียค่าใช้
จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น ยกเว้นกรณีปริมณฑลในรัศมี 50 กิโลเมตร จากพระบรมมหาราชวัง เจ้าภาพจะต้องจัดรถรับ – ส่งให้ก ับเจ้าหน้าที่เชิญเพลิงด้วย

3. สำหรับเครื่องประกอบเกียรติยศ ได้แก่ หีบ โกศ ฉัตรตั้ง นั้นทางสำนักพระราชวังจะได้เชิญไปประกอบและแต่งตั้งไว้ มีกำหนดเพียง 7 วัน เมื่อพ้นไป แล้ว เจ้าภาพหรือทายาทยังไม่กำหนดพระราชทานเพลิง ถ้าทางราชการมีความจำเป็น ก็จะถอนส่วนประกอบลองนอกของหีบหรือโกศ ไปใช้ในราชการต่อไป

4. ในการพระราชทานเพลิงนั้น เมื่อเจ้าหน้าที่เชิญเพลิงพระราชทานหรือเจ้าภาพเชิญหีบเพลิงไปถึงมณฑลพิธี ในการนี้ห้ามเปิด หรือบรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมีเพลงสรรเสริญพระบารมีเนื่องจากเป็นการไม่เหมาะสม

โพสท์ใน ไม่มีหมวดหมู่ | ใส่ความเห็น

ประวัติสร้อยอุบะหรือสร้อยทับทรวง

10514361_886064884740996_22450026328879612_o

ทับทรวง คือ เครื่องประดับชนิดหนึ่ง รูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ประดับเพชรพลอย ติดอยู่ตรงที่ไขว้สังวาลสะพายแล่งทับหน้าอก, ตาบหน้า หรือ ตาบทับ ก็เรียก ซึ่งมีรูปทรงดัดแปลงมาจากลายประจำยาม ตรงกลางยกสูงประดับพลอย ในส่วนลวดลายอาจเป็นลายไทย, เทศ ทับทรวง มี 2 ชนิดคือ จี้ตัวผู้ และจี้ตัวเมีย โดยจี้ตัวเมียมีขนาดใหญ่กว่า และมีตุ้งติ้งห้อยตรงส่วนปลายของจี้ ส่วน จี้ตัวผู้ ไม่มีตุ้งติ้งห้อยตรงส่วนปลายของจี้
——————————————————-
แต่แรกเริ่ม งานเครื่องประดับเริ่มจากฝีมือช่างจากฝีมือช่างไปสู่ชนชั้นสูง งานเครื่องประดับสนองความต้องการของชนชั้นสูง มากกว่าชนชั้นต่ำ ทั้งนี้เนื่องจากอำนาจ และสภาพทางเศรษฐกิจนั่นเอง สาเหตุที่งานเครื่องประดับเกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจ เพราะ ลักษณะงานเครื่องประดับในยุคนั้นทำจากวัสดุที่มีราคาแพง เช่น ทองคำ เพชร พลอย เป็นต้น และจนปัจจุบันนี้งานเครื่องประดับ ก็ยังเป็นลักษณะงานที่ทำจากวัสดุที่มีราคาแพงอยู่ แม้จะเปลี่ยนวัสดุมาใช้สิ่งของราคาถูกลงบ้างก็ตาม

เครื่องประดับในปัจจุบัน ถือกันว่าเป็นงานวิจิตรศิลป์ เป็นลักษณะงานที่เกี่ยวข้องกับสุนทรียภาพ มีความงดงามสมบูรณ์ อยู่ในตัวของมันเอง และในขณะเดียวกัน ก็เป็นสื่อสัญลักษณ์ของการแต่งงาน เป็นสัญลักษณ์ของการเกิด และชัยชนะในบางครั้ง ในขณะเดียวกันก็เป็นสัญลักษณ์ของความมั่นคงด้วย

โพสท์ใน ไม่มีหมวดหมู่ | ใส่ความเห็น

ทำไมคนไทยเราต้องใส่ชุดดำไปงานศพ!!!???

ชุดไทยสีดำ1

คนสวมชุดดำคือคนไว้ทุกข์แสดงความเศร้าโศกอาลัยผู้จากไปคนที่ไปงานศพก็สวมชุดดำเพื่อแสดงความเคารพแก่ผู้เสียชีวิต

เมื่อสืบเสาะเรื่องการสวมชุดดำไปงานศพหรือไว้ทุกข์ของคนไทยจะเห็นว่าไม่ได้เป็นประเพณีของไทยแต่ดั้งเดิม หนังสือประเพณีเนื่องในการเกิดและประเพณีเนื่องในการตาย ของเสถียร โกเศศ กล่าวไว้ว่าคนไทยนุ่งทั้งสีขาวสีดำ และสีอื่น ๆ ไปงานศพเพิ่งจะนิยมเฉพาะสีดำในสมัยจอมพล ป.พิบูลสงครามนี่เอง

ต้นเหตุของการแต่งดำที่แท้จริงนั้นน่าจะเป็นความเชื่อที่เกิดจากความกลัวที่มีอยู่ในตัวมนุษย์มานานแล้ว เพียงแต่มนุษย์แต่ละชาติแต่ละเผ่าพันธุ์และแต่ละยุคมีวิธีจัดการกับความกลัวนี้อย่างไร

ความกลัวที่ว่าคือ กลัวภูตผีวิญญาณของคนตายจะกลับมาและหาร่างอยู่

พิธีศพของฝรั่งที่มีการจุดเทียนไว้รอบร่างผู้ตาย เพราะเชื่อว่าแสงเทียนจะทำให้วิญญาณตกใจไม่กล้าเข้าร่าง ด้วยเชื่อว่าในโลกของภูตผีวิญญาณนั้นไม่มีแสง มีแต่ความมืดมิดตลอดกาล เมื่อภูตผีเจอแสงเข้าจึงกลัว

ดังนั้นเมื่อเข้าร่างคนตายไม่ได้ก็อาจจะเข้าร่างคนเป็นก็ได้ !

ด้วยความกลัวว่าวิญญาณจะเข้าสิงเอาขณะเผลอ คนเป็นจึงต้องทำตัวให้ต่างไปจากเดิม ด้วยการทาสีร่างกายหรือแต่งกายด้วยเครื่องแต่งกายแปลก ๆ บางชุมชน ญาติผู้ตายที่ใกล้ชิดที่สุดจะเอาเสื้อผ้าของผู้ตายมาสวมอยู่หลายอาทิตย์หรืออาจจะหลายเดือนผู้ชายทางภาคอีสานของบ้านเราที่กลัวโรคไหลตายใช้วิธีทาเล็บด้วยสีแดงให้เหล่าภูตผีเข้าใจว่าเป็นผู้หญิงจะได้ไม่เอาตัวไป

ผ้าสีดำที่มักเห็นหญิงม่ายฝรั่งแถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียนคลุมหน้าในงานศพนั้นก็ด้วยเหตุผลเดียวกันคือ กลัววิญญาณสามีจะจำได้ โดยเธอจะคลุมหน้าและแต่งดำไว้ทุกข์อยู่ ๑ ปีเต็ม

แต่ทำไมต้องสีดำ ?

นักโบราณคดีฝรั่งสันนิษฐานว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องของผิว เพราะคนผิวขาวยุคแรกทาตัวด้วยสีดำในงานศพเพื่อแยกความแตกต่างระหว่างคนกับวิญญาณ ทำนองเดียวกันคนแอฟริกันผิวดำบางเผ่าที่ทาตัวด้วยสีขาวให้ตรงข้ามกับสีผิวธรรมชาติที่มีอยู่ เป็นการเลี่ยงไม่ให้วิญญาณเห็นและเข้าสิง แม้ในศตวรรษนี้ก็ยังคงพอเห็นการปฏิบัติเช่นนี้ของคนผิวดำ ส่วนคนผิวขาวเปลี่ยนจากการทาสีตามตัวมาเป็นสวมเสื้อผ้าสีดำแทน

credit : OKnation

โพสท์ใน ไม่มีหมวดหมู่ | ใส่ความเห็น

สตรีที่แต่งกายงดงามที่สุดในโลก อยู่ที่ประเทศไทย

10570382_884594678221350_8309410970857823545_n

“จะต้องมีฉลองพระองค์ที่แสดงถึงเอกลักษณ์ไทยอย่างแท้จริง”
สมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถทรงตัดสินพระทัย ในการจัดเตรียมฉลองพระองค์ในการเสด็จเจริญสัมพันธไมตรีกับ 15 ชาติในทวีปอเมริกาและยุโรป ในปี พ.ศ. 2503 เพื่อให้ประเทศไทยเป็นที่ยอมรับในสังคมโลก และไม่ถูกมองว่าเป็นประเทศล้าหลังและไร้ซึ่งวัฒนธรรมที่ดีงาม
ในขณะนั้นประเทศไทยยังไม่มีชุดประจำชาติ พระองค์ทรงมีพระราชเสาวนีย์ให้รวบรวมผู้รู้ทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมและประเพณีไทย อ.หัวหน้าแผนกผ้าและการตกแต่งกาย เพื่อร่วมคิดค้นชุดประจำชาติให้กับประเทศไทย เพื่อจะใช้เป็นฉลองพระองค์ในการเสด็จครั้งนี้
พระองค์ทรงเป็นผู้เผยแพร่ศิลป์การแต่งกายตามแบบประเพณีไทย รวมทั้งความงดงามของผ้าไทยให้เป็นที่ประจักษ์แก่ชาวโลก จนทำให้ผู้เชี่ยวชาญการออกแบบเครื่องแต่งกายสตรีของโลกจำนวน 2,000คน ต่างเฉลิมพระเกียรติให้เป็น
– 1 ใน 10 สตรีที่แต่งกายงามที่สุดในโลก พ.ศ. 2503,2504
– สตรีที่แต่งกายงดงามที่สุดในโลกปี พ.ศ. 2506,2507
ต่อมาในปี 2508 มีการจารึกพระนามาภิไธยในหอแห่งเกียรต์คุณ ณ นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา ในฐานะที่ทรงเป็นหนึ่งในสิบสองสุภาพสตรีที่แต่งกายงามที่สุดในโลก
สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ยังพระราชทานพระราชานุญาตให้สตรีไทยนำแบบฉลองพระองค์ชุดไทยไปตัดเย็บสวมใส่ได้ เรียกกันว่า “ชุดไทยพระราชนิยม” มี 8 แบบ เป็นที่มาของชุดประจำชาติสืบเนื่องมาถึงทุกวันนี้

เข้าชมฉลองพระองค์ชุดจริงได้ที่พิพิธภัณฑ์ผ้าในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ หอรัษฎากรพิพัฒน์ในพระบรมมหาราชวัง

โพสท์ใน ไม่มีหมวดหมู่ | ใส่ความเห็น