การขอพระราชทานน้ำสังข์

10419986_877053075642177_5996259829566902797_n

แอดมินนำบทความดีๆ เกี่่ยวกับรายละเอียด กฎเกณฑ์และขั้นตอนอย่างไรบ้าง ติดตามอ่านกันด้านล่างนี้ได้เลยค่ะ (ขอขอบคุณ คุณแก๊บและคุณพริมสำหรับรีวิวนี้นะคะ ถ่ายภาพหลังทำพิธีเสร็จมาให้ชมกันค่ะ) http://www.phahurat.com

หลักเกณฑ์การขอสมรสพระราชทาน
การขอให้ทรงพระราชทานประกอบพิธีสมรสให้นั้น เรียกว่า การขอพระราชทานน้ำสังข์ โดยมี 2 รูปแบบด้วยกัน คือ
1. แบบเป็นทางการ
2. แบบส่วนพระองค์ ที่เรียกกันว่า น้ำสังข์ข้างที่
การขอสมรสพระราชทานขึ้นอยู่กับ
– พระราชทานแก่ผู้ที่ทรงรู้จัก และคุ้นเคย
– ทรงรู้จักบิดา และมารดาของผู้ขอพระราชทาน
– ผู้บังคับบัญชาเป็นผู้ขอพระราชทานให้คู่สมรสในกรณีที่เป็น ตำรวจ ทหาร หรือพลเรือนที่ไม่อยู่ในเกณฑ์ข้อ 1 และ 2
– ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเป็นกรณีพิเศษ

ผู้ขอพระราชทานต้องทำหนังสือยื่นต่อสำนักราชเลขาธิการ เพื่อขอให้นำความกราบบังคมทูลพระกรุณา พร้อมทั้งแนบวันเดือนปีเกิดของคู่สมรส และสถานที่ติดต่อมาด้วย
ระเบียบปฏิบัติในงานสมรสซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ประกอบพิธีพระราชทาน

ขั้นตอนการขอสมรสพระราชทาน
หลังจากที่คู่บ่าวสาวได้พิจารณาแล้วว่า สามารถเข้าขอรับการสมรสพระราชทาน ได้ ก็ถึงขั้นตอนที่ต้องเตรียมเอกสารและเรียนรู้กฎเกณฑ์ต่างๆเพื่อขอสมรสพระราชทาน
ซึ่งเมื่อมีส่วนเกี่ยวข้องกับราชสำนักแล้ว ก็คงต้องมีขั้นตอนที่ค่อนข้างเคร่งครัดและซับซ้อนอยู่สักหน่อย แต่หากคุณปฏิบัติตามขั้นตอนดังต่อไปนี้แล้ว รับรองว่าคุณจะผ่านงานนี้ไปได้อย่างราบรื่นค่ะ
การขอสมรสพระราชทาน ให้ถูกต้องตามลำดับขั้นตอน ควรรู้ หลักเกณฑ์การขอสมรสพระราชทาน ตามแบบราชสำนักดังนี้
ลำดับขั้นตอนการขอสมรสพระราชทาน
1. เขียนคำร้อง แจ้งความประสงค์ไปยังสำนักพระราชวัง โดยนำเอกสารแบบฟอร์มการ ขอพระราชทานน้ำสังข์ จากกองงานฯ มากรอกรายละเอียด จากนั้นเขียนประวัติของคู่บ่าวสาวและความสัมพันธ์กับเชื้อพระวงศ์ หรือถ้ามีคนในครอบครัวคนใดมีโอกาสได้ถวายงาน ก็ให้เขียนรายละเอียดลงไปด้วยจะเป็นการดี ซึ่งเราสามารถระบุช่วงเวลาที่เราต้องการได้ เป็นต้นว่า ระหว่างปี 2549-2550 จากนั้นให้รอหมายแจ้งกลับจากทางสำนักพระราชวัง
2. ทางสำนักพระราชวังจะแจ้งหมายกำหนดการ วันเวลา และสถานที่ที่จะทำการเข้าเฝ้าฯ ซึ่งการรอหมายเรียกกลับอาจจะใช้เวลาแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับจำนวนผู้ที่ยื่นเรื่องฯ ในช่วงเวลานั้น รวมถึงความสัมพันธ์ที่มีต่อเชื้อพระวงศ์องค์นั้นๆ ด้วยเช่นกัน
3. แจ้งรายชื่อผู้ติดตามทั้งหมด (บิดา-มารดา และพยานของทั้งสองฝ่าย) ตามหนังสือระเบียบการแจ้งผู้ติดตาม รวมกันไม่เกิน 8 ท่าน (รวมคู่บ่าว-สาวแล้วเป็น 10 ท่าน)
4. ถ้าต้องการจดทะเบียนสมรสในวันนั้น ให้เตรียมเอกสารตามที่ระบุ เช่น สำเนาทะเบียนบ้าน บัตรประชาชน และค่าธรรมเนียม 200 บาท ให้ทางสำนักพระราชวังก่อนวันเข้ารับพระราชทานน้ำสังข์
5. ทางสำนักพระราชวังจะกำหนดวันนัดซ้อม ก่อนวันเข้าเฝ้าฯ
6. นัดซ้อมอีกครั้งในวันจริงพร้อมกันทั้งหมด (คู่บ่าว-สาว และผู้ติดตาม หรือสักขีพยาน) ซึ่งทาง สำนักพระราชวังจะนัดให้ไปถึงก่อนฤกษ์ประมาณ 3 ชั่วโมง และจะมีเจ้าหน้าที่คอยกำกับบอกข้อบกพร่องที่ควรแก้ไขอีกครั้ง ไม่ต้องกังวลเรื่องรายละเอียดว่าเราต้องทำอะไรบ้าง และจะทำอย่างไรในตอนเข้าเฝ้าฯ เพราะจะมีเจ้าหน้าที่คอยกำกับให้เป็นช่วง
7. การแต่งกาย
ชาย: ถ้าเป็นข้าราชการให้แต่งเครื่องแบบเต็มยศ ถ้าเป็นพลเรือนให้ใช้ชุดราชประแตนพร้อมติดเครื่องหมายเข้าเฝ้าที่คอเสื้อ
หญิง: ใส่ชุดไทยบรมพิมาน (ไม่กำหนดสีหรือชนิดของผ้า) ซึ่งชุดไทยบรมพิมานที่ถูกต้องนั้นจะไม่ผ่าหลังหรือผ่าหน้า เพราะจะไม่สุภาพเวลาก้มกราบและหมอบคลาน ดังนั้นแนะนำให้ช่างเสื้อจับจีบหน้านาง ประมาณ 2 จีบ ซึ่งจะกว้างกำลังดีทำให้เราหมอบกราบได้สะดวก ในวันลองชุดควรลองหมอบกราบและ คลานเข่าด้วย สำหรับเรื่องรองเท้า ไม่อนุญาตให้มีสายคาดหรือสายรัดข้อเท้า ต้องเป็นแบบสวมหุ้มส้นเท่านั้น
เครื่องประดับควรใส่เพียงน้อยชิ้น ไม่ควรเป็นระย้าห้อยตุ้งติ้ง เพราะต้องมีการก้มกราบหลายครั้ง สร้อยหรือตุ้มหูอาจจะพันกันเองหรือพันเส้นผมได้ และจะทำให้แลดูไม่งามนัก ส่วนสักขีพยานที่เป็นผู้หญิงให้ใช้ชุดไทยจิตรลดาในการเข้าเฝ้า
8. แบบผมของผู้หญิงควรเป็นทรงที่เรียบร้อยไม่รุงรังและไม่ฉีดสเปรย์ใส่ผมมากเกินไปจนเหนียวเหนอะหนะเพราะอาจทำให้มีปัญหาในการทัดใบมะตูมได้
9. เตรียมพานดอกไม้ ธูปเทียน สำหรับวันที่เข้าเฝ้าฯ หรือในวันจริงให้พร้อม หากเกรงว่าจะไม่ถูกต้องตามประเพณีก็สามารถให้ทางพระราชวังเตรียมให้ได้ โดยให้ไปติดต่อแจ้งความจำนงและชำระเงินไว้ล่วงหน้า เมื่อถึงเวลาเข้าเฝ้าฯ ทางเจ้าหน้าที่จะเป็นคนจัดการนำมาวางไว้ให้ที่โต๊ะ
10. เมื่อเสร็จพิธีในส่วนของเราแล้วก็สามารถกลับได้เลย ไม่ต้องรอให้ทำพิธีจนครบทุกคู่ (ปกติวันที่ทรงพระราชทานน้ำสังข์จะมีประมาณ 6-8 คู่ ทางสำนักพระราชวังจะเป็นคนกำหนดแจ้งลำดับก่อนหลังมาให้อีกครั้ง)

ข้อมูลจากหนังสือ “รวมเรื่องและข้อปฏิบัติเกี่ยวกับ ราชสำนัก”

โพสท์ใน ไม่มีหมวดหมู่ | ใส่ความเห็น

!!!! ชุดไทยที่หายไป !!!!

ชุดไทยที่หายไป
หากใครสักคนจะใส่ชุดโจงกระเบนห่มผ้าสไบเฉียงออกไปเดินช๊อปปิ้ง Paragon สยามสแควร์ หรือใส่ออกไปขึ้นรถเมลล์ไปทำงาน คงต้องใช้ความกล้าและความมั่นใจมหาศาลแน่ๆ และสิ่งที่คุณจะต้องประสบคือสายตาของคนรอบข้างที่จะมีทั้งชื่นชมและไม่ชื่นชมอาจถึงขั้นถูกมองเป็นตัวประหลาด นั้นเพราะชุดไทยในปัจจุบันนั้นแทบจะไม่ถูกใช้เป็นเครื่องแต่งกายในชีวิตประจำวันของคนไทย(โดยเฉพาะคนกรุงเทพฯ) เกิดจากเหตุผลหลักๆสองประการ

1.อิทธิพลของวัฒนธรรมต่างชาติที่เข้ามามีผลกับคนไทย
2.การสะดุดทางวัฒนะธรรมครั้งใหญ่ของไทยในช่วงเปลี่ยนแปลงการปกครองสมัยจอมพล ป.

จอมพล แปลก พิบูลสงคราม เป็นผู้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม ประเพณี และการใช้ชีวิตของคนไทยอย่างมากเพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงการปกครอง เพื่อให้เกิดความทันสมัย
หากจะย้อนกลับไปในช่วงเวลานั้น สภาพบ้านเมืองของไทยหากเปรียบเทียบกับชาติตะวันตกประเทศสยามยังดูล้าหลังอยู่มาก ดังนั้นในยุคที่จอมพล ป.เป็นนายกรัฐมนตรีจึงมีนโนบายสำคัญที่คือ การมุ่งพัฒนาประเทศให้มีความเจริญรุ่งเรืองทัดเทียมนานาอารยประเทศ มีการปลุกระดมให้คนไทยรู้สึกรักชาติ โดยออกเป็นประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วย “รัฐนิยม” หลายอย่างซึ่งบางอย่างได้ประกาศเป็นกฏหมายในภายหลัง หลายอย่างกลายเป็นวัฒนธรรมของชาติ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียบประเพณีอย่างรุนแรง เพื่อทำให้ประเทศดูมีอารยมากขึ้นมีการจัดระเบียบการดำเนินชีวิตของคนไทยเสียใหม่ให้เป็นแบบอารยประเทศ

– เช่น การรำวง,ก๋วยเตี๋ยวผัดไทย
– เปลี่ยนชื่อประเทศจาก “สยาม”เป็น”ไทย”
– ใช้คำว่าไทย กับคนไทย และสัญชาติไทย
– เปลี่ยน “เพลงชาติไทย” มาเป็นอย่างที่ใช้ในปัจจุบัน
– มีคำขวัญ “เชื่อผู้นำพ้นภัย” หรือ “ท่านผู้นำไปไหนฉันไปด้วย” และ “ไทยอยู่คู่ฟ้า”
– กำหนดวันที่ 24 มิ.ย. ซึ่งตรงกับวันเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็น “วันชาติไทย” เริ่มปี 2482
– เปลี่ยนวันปีใหม่จาก 1 เมษายนเป็นวันที่ 1 มกราคม ทำให้ในปี พ.ศ.2483 ของไทยมีแค่ 9 เดือน
– ให้ยืนเคารพธงชาติพร้อมกันทั่วประเทศ 8:00น.และขักธงชาติลง 18:00 น.
– ข้าราชการแต่งเครื่องแบบ
– ราษฏรทั่วไปผู้ชายสวมเสื้อคอปิด นุ่งกางเกงขายาว สวมหมวกปีก สวมถุงเท้า รองเท้า (ในสมัยนั้นคนไทยผู้ชายมักไม่ใส่เสื้อ นอกจากผู้มีฐานะหรือผู้มีการศึกษา)
– ผู้หญิง สวมเสื้อนอกคลุมไหล่ นุ่งผ้าถุง ห้ามนุ่งโจงกระเบน (ขณะนั้นผู้หญิงมักสวมผ้าแถมคาดอก เวลาออกจากบ้านอาจมีการใช้สไบพันเพิ่มคุลมไหล่ไว้ข้างหนึ่ง และนุ่งโจงกระเบน)
– หากผู้หญิงคนใดไม่ใส่หมวกออกจากบ้านจะถูกตำรวจจับและปรับ
– การแต่งกายไว้ทุกข์ในงานศพ ผู้ชายใช้เสื้อสีขาว กางเกงขายาวขาว ผ้าผูกคอสีดำที่แขนเสื้อด้านซ้ายสวมรองเท้าดำ ถุงเท้าดำ ผู้หญิงให้แต่งชุดดำล้วน
– การรับประทานให้ใช้ช้อนซ้อมแทนการใช้มือเปิบ
– ห้ามกินหมากโดเด็ดขาด
– งดใช้พยัญชนะ 13 ตัวที่ออกเสียงซ้ำซ้อนกันเพื่อให้ภาษาไทยง่ายต่อการเรียนรู้และเข้าใจสำหรับคนต่างชาติมากขึ้น พยัญชนะเหล่านั้นได้แก่ ฃ ฅฒ ญ ฏ ฎ ฐ ฑ ฌ ศ ษ ฬ ตัดสระออก 5 ตัว ฤ ฤา ฦา ใ แต่ในสมัยนายกรัฐมนตรีท่านต่อมาก็ได้นำกลับมาใช้ใหม่ทั้งหมด
– ยกเลิกบรรดาศักดิ์ เช่น เจ้าพระยา พระยา พระ หลวง ขุน ให้ใช้ชื่อนามสกุลแทน
– การตั้งชื่อบุคคลต้องให้เหมาะสมกับเพศ และมีความยาวไม่เกินสามพยางค์
– ให้ข้าราชการกล่าวคำว่า “สวัสดี” ในโอกาสแรกที่พบกัน
– มีการวางระเบียบในการใช้คำแทนชื่อเป็นมาตราฐานได้แก่ ฉัน ท่าน เรา

จากการมุ่งพัฒนาประเทศในแนวทางนี้เป็นที่มาให้ “ไทย” พัฒนาเจริญมาจนสู่ปัจจุบันนี้ การได้มาซึ่งสิ่งหนึ่งย่อมต้องแลกมาด้วยอีกสิ่งหนึ่ง โจงกระเบน ผ้าแถบ และเครื่องแต่งกายของคนไทยหลากหลายแบบก็ได้หายไปจากสังคมไทย มากไปกว่านั้นยังได้สร้างรอยไว้ในจิตใต้สำนึกของคนรุ่นต่อๆมา ทำให้รู้สึกว่าชุดไทยและวัฒนธรรมแบบไทยๆเป็นเรื่องล้าหลังเป็นเรื่องไม่ทันสมัยและ “เชย” คนไทยในปัจจุบันจึงไม่นิยมใส่ชุดไทยในชีวิตประจำวันไม่เหมือน กิโมโน (kimono)ของประเทศญี่ปุ่น ที่คนญี่ปุ่นทุกวัยสามารถสวมใส่ใช้ในชีวิตปกติได้แฟชั่นยุคใหม่อยู่ร่วมกับชุดประจำชาติในแบบดั้งเดิม



หรือเหมือนชุดอ่าวหญ่าย (Ao dai) ที่เป็นชุดประจำชาติของประเทศเวียดนาม ที่ปัจจุบันก็ยังใช้สวมใส่ได้จริงและเป็นที่นิยม
ในความรู้สึกส่วนตัวของผม ผมเชื่อว่ามีคนอีกไม่น้อยที่หลงใหลในเสน่ห์ของมรดกทางวัฒนธรรมนี้เหมือนผม และพร้อมจะช่วยผลักดันให้ชุดไทยกลับมาสวมใส่ได้จริงในสังคม คงต้องใช้แรง เวลา และความร่วมมือจากคนมากมายหากจะให้ปรากฏการณ์นี้เกิดขึ้นได้จริง ทั้งฝั่งผู้ผลิตชุดไทยต้องสามารถปรับให้ชุดไทยเหมาะกับการใช้งานจริงมากขึ้น รัฐบาลและกลุ่มต่างๆเพื่อสร้างค่านิยมใหม่ในสังคม และส่วนสำคัญที่สุดคือฝั่งประชาชนคนไทยนี่แหละ ที่จะเป็นผู้หยิบเสื้อผ้าเหล่านี้ขึ้นมาสวมใส่ ผมเองในฐานะคนเล็กๆคนนึงที่ทำชุดไทย ที่เกิดมาก็ได้เห็นผ้าไทย ที่กิจกรรมวัยเด็กในวันหยุดคือการช่วยคุณทวดปักสไบชุดไทย ผมจะยังคงนำเสนอชุดไทยในรูปแบบต่างๆต่อไป ทั้งแบบดั้งเดิมและในแบบที่ปรับให้เหมาะกับยุคสมัยมากขึ้น เพื่อพลักดันให้ชุดไทยถูกกลับมาสวมใส่โดย”คนไทย”มากขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ ภาระกิจชุดไทยwww.phahurat.com

#ชุดไทย #ภาระกิจชุดไทย

https://www.facebook.com/phahuratdotcom/posts/933767513304066

โพสท์ใน เกร็ดความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับชุดไทย | ติดป้ายกำกับ , | ใส่ความเห็น

!!!! ชุดไทยที่หายไป !!!!

ชุดไทยที่หายไป
หากใครสักคนจะใส่ชุดโจงกระเบนห่มผ้าสไบเฉียงออกไปเดินช๊อปปิ้ง Paragon สยามสแควร์ หรือใส่ออกไปขึ้นรถเมลล์ไปทำงาน คงต้องใช้ความกล้าและความมั่นใจมหาศาลแน่ๆ และสิ่งที่คุณจะต้องประสบคือสายตาของคนรอบข้างที่จะมีทั้งชื่นชมและไม่ชื่นชมอาจถึงขั้นถูกมองเป็นตัวประหลาด นั้นเพราะชุดไทยในปัจจุบันนั้นแทบจะไม่ถูกใช้เป็นเครื่องแต่งกายในชีวิตประจำวันของคนไทย(โดยเฉพาะคนกรุงเทพฯ) เกิดจากเหตุผลหลักๆสองประการ

1.อิทธิพลของวัฒนธรรมต่างชาติที่เข้ามามีผลกับคนไทย
2.การสะดุดทางวัฒนะธรรมครั้งใหญ่ของไทยในช่วงเปลี่ยนแปลงการปกครองสมัยจอมพล ป.

จอมพล แปลก พิบูลสงคราม เป็นผู้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม ประเพณี และการใช้ชีวิตของคนไทยอย่างมากเพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงการปกครอง เพื่อให้เกิดความทันสมัย
หากจะย้อนกลับไปในช่วงเวลานั้น สภาพบ้านเมืองของไทยหากเปรียบเทียบกับชาติตะวันตกประเทศสยามยังดูล้าหลังอยู่มาก ดังนั้นในยุคที่จอมพล ป.เป็นนายกรัฐมนตรีจึงมีนโนบายสำคัญที่คือ การมุ่งพัฒนาประเทศให้มีความเจริญรุ่งเรืองทัดเทียมนานาอารยประเทศ มีการปลุกระดมให้คนไทยรู้สึกรักชาติ โดยออกเป็นประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วย “รัฐนิยม” หลายอย่างซึ่งบางอย่างได้ประกาศเป็นกฏหมายในภายหลัง หลายอย่างกลายเป็นวัฒนธรรมของชาติ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียบประเพณีอย่างรุนแรง เพื่อทำให้ประเทศดูมีอารยมากขึ้นมีการจัดระเบียบการดำเนินชีวิตของคนไทยเสียใหม่ให้เป็นแบบอารยประเทศ

– เช่น การรำวง,ก๋วยเตี๋ยวผัดไทย
– เปลี่ยนชื่อประเทศจาก “สยาม”เป็น”ไทย”
– ใช้คำว่าไทย กับคนไทย และสัญชาติไทย
– เปลี่ยน “เพลงชาติไทย” มาเป็นอย่างที่ใช้ในปัจจุบัน
– มีคำขวัญ “เชื่อผู้นำพ้นภัย” หรือ “ท่านผู้นำไปไหนฉันไปด้วย” และ “ไทยอยู่คู่ฟ้า”
– กำหนดวันที่ 24 มิ.ย. ซึ่งตรงกับวันเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็น “วันชาติไทย” เริ่มปี 2482
– เปลี่ยนวันปีใหม่จาก 1 เมษายนเป็นวันที่ 1 มกราคม ทำให้ในปี พ.ศ.2483 ของไทยมีแค่ 9 เดือน
– ให้ยืนเคารพธงชาติพร้อมกันทั่วประเทศ 8:00น.และขักธงชาติลง 18:00 น.
– ข้าราชการแต่งเครื่องแบบ
– ราษฏรทั่วไปผู้ชายสวมเสื้อคอปิด นุ่งกางเกงขายาว สวมหมวกปีก สวมถุงเท้า รองเท้า (ในสมัยนั้นคนไทยผู้ชายมักไม่ใส่เสื้อ นอกจากผู้มีฐานะหรือผู้มีการศึกษา)
– ผู้หญิง สวมเสื้อนอกคลุมไหล่ นุ่งผ้าถุง ห้ามนุ่งโจงกระเบน (ขณะนั้นผู้หญิงมักสวมผ้าแถมคาดอก เวลาออกจากบ้านอาจมีการใช้สไบพันเพิ่มคุลมไหล่ไว้ข้างหนึ่ง และนุ่งโจงกระเบน)
– หากผู้หญิงคนใดไม่ใส่หมวกออกจากบ้านจะถูกตำรวจจับและปรับ
– การแต่งกายไว้ทุกข์ในงานศพ ผู้ชายใช้เสื้อสีขาว กางเกงขายาวขาว ผ้าผูกคอสีดำที่แขนเสื้อด้านซ้ายสวมรองเท้าดำ ถุงเท้าดำ ผู้หญิงให้แต่งชุดดำล้วน
– การรับประทานให้ใช้ช้อนซ้อมแทนการใช้มือเปิบ
– ห้ามกินหมากโดเด็ดขาด
– งดใช้พยัญชนะ 13 ตัวที่ออกเสียงซ้ำซ้อนกันเพื่อให้ภาษาไทยง่ายต่อการเรียนรู้และเข้าใจสำหรับคนต่างชาติมากขึ้น พยัญชนะเหล่านั้นได้แก่ ฃ ฅฒ ญ ฏ ฎ ฐ ฑ ฌ ศ ษ ฬ ตัดสระออก 5 ตัว ฤ ฤา ฦา ใ แต่ในสมัยนายกรัฐมนตรีท่านต่อมาก็ได้นำกลับมาใช้ใหม่ทั้งหมด
– ยกเลิกบรรดาศักดิ์ เช่น เจ้าพระยา พระยา พระ หลวง ขุน ให้ใช้ชื่อนามสกุลแทน
– การตั้งชื่อบุคคลต้องให้เหมาะสมกับเพศ และมีความยาวไม่เกินสามพยางค์
– ให้ข้าราชการกล่าวคำว่า “สวัสดี” ในโอกาสแรกที่พบกัน
– มีการวางระเบียบในการใช้คำแทนชื่อเป็นมาตราฐานได้แก่ ฉัน ท่าน เรา

จากการมุ่งพัฒนาประเทศในแนวทางนี้เป็นที่มาให้ “ไทย” พัฒนาเจริญมาจนสู่ปัจจุบันนี้ การได้มาซึ่งสิ่งหนึ่งย่อมต้องแลกมาด้วยอีกสิ่งหนึ่ง โจงกระเบน ผ้าแถบ และเครื่องแต่งกายของคนไทยหลากหลายแบบก็ได้หายไปจากสังคมไทย มากไปกว่านั้นยังได้สร้างรอยไว้ในจิตใต้สำนึกของคนรุ่นต่อๆมา ทำให้รู้สึกว่าชุดไทยและวัฒนธรรมแบบไทยๆเป็นเรื่องล้าหลังเป็นเรื่องไม่ทันสมัยและ “เชย” คนไทยในปัจจุบันจึงไม่นิยมใส่ชุดไทยในชีวิตประจำวันไม่เหมือน กิโมโน (kimono)ของประเทศญี่ปุ่น ที่คนญี่ปุ่นทุกวัยสามารถสวมใส่ใช้ในชีวิตปกติได้แฟชั่นยุคใหม่อยู่ร่วมกับชุดประจำชาติในแบบดั้งเดิม


ในความรู้สึกส่วนตัวของผม ผมเชื่อว่ามีคนอีกไม่น้อยที่หลงใหลในเสน่ห์ของมรดกทางวัฒนธรรมนี้เหมือนผม และพร้อมจะช่วยผลักดันให้ชุดไทยกลับมาสวมใส่ได้จริงในสังคม คงต้องใช้แรง เวลา และความร่วมมือจากคนมากมายหากจะให้ปรากฏการณ์นี้เกิดขึ้นได้จริง ทั้งฝั่งผู้ผลิตชุดไทยต้องสามารถปรับให้ชุดไทยเหมาะกับการใช้งานจริงมากขึ้น รัฐบาลและกลุ่มต่างๆเพื่อสร้างค่านิยมใหม่ในสังคม และส่วนสำคัญที่สุดคือฝั่งประชาชนคนไทยนี่แหละ ที่จะเป็นผู้หยิบเสื้อผ้าเหล่านี้ขึ้นมาสวมใส่ ผมเองในฐานะคนเล็กๆคนนึงที่ทำชุดไทย ที่เกิดมาก็ได้เห็นผ้าไทย ที่กิจกรรมวัยเด็กในวันหยุดคือการช่วยคุณทวดปักสไบชุดไทย ผมจะยังคงนำเสนอชุดไทยในรูปแบบต่างๆต่อไป ทั้งแบบดั้งเดิมและในแบบที่ปรับให้เหมาะกับยุคสมัยมากขึ้น เพื่อพลักดันให้ชุดไทยถูกกลับมาสวมใส่โดย”คนไทย”มากขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ ภาระกิจชุดไทยwww.phahurat.com

#ชุดไทย #ภาระกิจชุดไทย

โพสท์ใน เกร็ดความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับชุดไทย | ติดป้ายกำกับ , | ใส่ความเห็น

ชุดไทย ร.7 ใส่สบาย ดูดี มีสไตล์

**พร้อมส่งแล้วค่ะ**
เสื้อชุดไทย ร.7 ที่ลูกค้าหลายท่านสนใจสอบถามเข้ามากันมากมาย ขณะนี้สินค้ามาแล้วนะคะ สีครีมมีไซส์ S M L XL สนใจรีบจับจองกันนะคะ และจะมีสีออฟไวท์และสีชมพูเข้ามาอีกสัปดาห์หน้า แล้วจะมาอัพเดทให้ดูกันค่ะ
— ที่ Phahurat.com
ชุดไทยร.7 โดยปกติทางร้านจะจัดเซตเข้ากับกระโปรงป้ายสั้น แต่จริงๆแล้วสามารถเลือกใส่เข้าชุดกับโจงกระเบนก็ได้ค่ะ น่ารักและทะมัดทะแมงเคลื่อนไหวสะดวกค่ะ
www.phahurat.com — ที่ Phahurat.com
โพสท์ใน ไม่มีหมวดหมู่ | ใส่ความเห็น

สาขาของเรา www.Phahurat.com

ร้านชุดไทย http://www.Phahurat.com มีทั้งหมดสองสาขาคือ สาขาพระราม 9 และสาขา งามวงศ์วาน

             โดยทั้งสองสาขาจะเปิดจำหน่ายชุดไทยเหมือนกันราคาเท่ากัน แตกต่างกันที่เวลาเปิดให้บริการ สาขาพระราม 9  จ.-ส. 9:00 – 18:00 น. วันอาทิตย์ 12:00-18:00 น.และหยุดตามวันหยุดนักขัตฤกษ์ ซึ่งทำให้ลูกค้าส่วนหนึ่งที่สะดวกเดินทางมาในวันหยุดหรือหลังเลิกงานจะไม่สามารถมาที่ร้านสาขาพระราม 9 ได้

ดังนั้นเมื่อวันที่ 1 สค. 2557 สาขางามวงศ์วานจึงได้เปิดขึ้นเพิ่มเติม เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น เวลาทำการ จ.-ศ. 11:00 น. – 20:30 น.  ส.-อ. 10:30 – 21:00 น.และไม่หยุดตามวันนักขัตฤกษ์ ทำให้บริการลูกค้าได้มากขึ้น

สาขาพระราม 9 ตั้งอยู่เลขที่ 943 ถ.พระราม 9 แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง กรุงเทพฯ 10250

เดินทางสะดวกจากทางด่วนศรีรัชทางลงถนนศรีนครินทร์เพียงห้าร้อยเมตร ที่จอดรถ 20 คันหน้าร้าน ติดกับห้าง The 9 สะดวกในการเลือกชมเลือกลอง ที่นั่งพักรอและห้องลองชุด 3 ห้อง 

สาขาที่สอง สาขางามวงศ์วาน ตั้งอยู่เลขที่ 30/39-50 อาคารศูนย์การค้า The Mall งามวงศ์วาน ชั้นสอง ห้อง 2S-C2B ถนนงามวงศ์วาน ตำบลบางเขน อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี 

 

โพสท์ใน ไม่มีหมวดหมู่ | ติดป้ายกำกับ , , | ใส่ความเห็น