การแต่งชุดไทยสลับสีชิ้นบนและล่างนั้นเป็นธรรมเนียมปฏิบัติมาแต่โบราณของสาวไทยชาววังค่ะ
ในอดีตสตรีที่อาศัยอยู่ในเขตพระราชฐานชั้นในจะแต่งกายเหมือนกันหมดตามแต่พระราชนิยม โดยนุ่งห่มสีตามวันนับตั้งแต่วันจันทร์ – วันอาทิตย์ แต่ละวันจะมีสีกำหนดไว้โดยเฉพาะดังนี้
(วันจันทร์) : นุ่งสีเหลืองอ่อน ห่มสีน้ำเงินอ่อนหรือบานเย็น แต่ถ้านุ่งสีนำเงินนกพิราบ ต้องห่มสีจำปาแดง
(วันอังคาร) : นุ่งสีปูนหรือสีม่วงเม็ดมะปราง จะห่มสีโศก แต่ถ้านุ่งสีโศกหรือสีเขียวอ่อน ต้องห่มด้วยม่วงอ่อน
(วันพุธ) : นุ่งสีถั่วก็ได้ สีเหล็กก็ได้ ห่มสีจำปา
(วันพฤหัสบดี) : นุ่งสีเขียวใบไม้ ห่มสีแดงเลือดนก หรือนุ่งสีแสด ห่มสีเขียวอ่อน
(วันศุกร์) : นุ่งสีน้ำเงินแก่ ห่มสีเหลือง
(วันเสาร์) : นุ่งสีเม็ดมะปราง ห่มสีโศก หรืองนุ่งผ้าลายพื้นสีม่วงห่มสีโศก
(วันอาทิตย์) : แต่งเหมือนวันพฤหัสบดีก็ได้ หรือนุ่งผ้าลายสีลิ้นจี่หรือสีเลือดหมู ห่มสีโศก
ส่วนเวลาไว้ทุกข์จะนุ่งผ้าลายพื้นสีม่วงแต่ห่มสีนวล
ปัจจุบันได้รับอิทธิพลจากการแต่งกายแบบตะวันตกมากขึ้น จนทำให้การแต่งกายสีตามวันแบบฉบับของสาวชาววัง และการใส่ชุดไทยสลับสีชิ้นบนและชิ้นล่างเริ่มเลือนหายไป น้อยคนที่จะยังรู้จักธรรมเนียมนี้